CLASS Dental Clinic – คลินิกทันตกรรมคลาส
ผ่าฟันคุด (Wisdom Tooth Removal) คือ การผ่าตัดเพื่อนำฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติออก ซึ่งฟันนั้นฝังตัวอยู่ใต้เหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่ที่สามอยู่ด้านในสุด อาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากฟันยังไม่โผล่พ้นเหนือเหงือก จำเป็นต้องใช้การ X-ray เพื่อให้เห็นการวางตัวของฟัน ฟันคุดที่เกิดขึ้นอาจโผล่ขึ้นเหนือเหงือกได้เมื่อมีอายุมากขึ้น และทำให้เกิดแรงดันที่บริเวณฟันคุดจนมีอาการปวดบม อักเสบ และติดเชื้อได้
ฟันคุดทำให้ฟันกรามใหญ่ข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่ 2 ที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ หากผ่าฟันคุดช้าเกินไปจนเกิดฟันผุ คนไข้มักจะต้องเอาฟันกรามใหญ่ และฟันคุดออกพร้อมกัน
ฟันคุดทำให้เศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกและไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียสะสมจนทำให้เหงือกอักเสบ ปวด บวม เป็นหนอง มีกลิ่นปาก หากทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คางหรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อาจถึงแก่ชีวิต
ในการจัดฟันเพื่อแก้ไขฟันหน้าซ้อนเก มักต้องถอนฟันคุด ออกก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนทำให้การแก้ไขฟันหน้าบิดซ้อนเก
ฟันคุดอาจทำให้เกิดการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาจะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป อาจจะกระทบกระเทือนต่อการมีชีวิตของฟันกรามซี่ที่ติดกันได้
ฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำโดยไม่แสดงอาการ ในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกรอบบริเวณนั้น
ถุงน้ำที่ขยายตัวเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ใบหน้าเอียง หรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ถ้าหากผ่าตัดออกได้ไม่ทันท่วงที อาจเกิดการสูญเสียขากรรไกรบางส่วนได้
ฟันคุดบนหากไม่รีบเอาออก โพรงไซนัสจะย้อยต่ำลงมา การผ่าฟันคุดออกอาจทำให้เกิดรอยทะลุระหว่างช่องปากและโพรงไซนัสได้
ฟันคุดด้านล่างหากไม่รีบเอาออก รากฟันที่ยาวจะไปเกี่ยวเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกร ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น อาการชาบริเวณแก้ม และริมฝีปาก
ซักประวัติคนไข้ เอ็กซเรย์เพื่อตรวจดูการวางตัวของฟันคุด กรณีมีฟันคุดหลายซี่ ทันตแพทย์แนะนำให้เอาออกพร้อมกันทั้งด้านบน และด้านล่าง โดยแบ่งทำ 2 ครั้ง เป็นฝั่งซ้าย/ขวา
ศัลยแพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ และผ่าฟันคุด โดยวิเคราะห์แผนการผ่าจากฟิลม์ X-ray ในระหว่างการทำจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ เมื่อนำฟันออกทั้งหมดแล้ว จะทำการเย็บแผลเพื่อให้เลือดหยุดไหล
หลังจากผ่าครบ 7 วัน จะมีการนัดคนไข้กลับมาตัดไหม และตรวจเช็คแผลที่ผ่าไป หากคนไข้ท่านใดมีเหตุจำเป็น เช่น ต้องเดินทางไปต่างประเทศ สามารถแจ้งให้ทันตแพทย์เย็บด้วยไหมละลายได้
รีวิวผ่าฟันคุด
คนแต่ละคนมีจำนวนฟันคุดไม่เท่ากัน หากท่านใดที่ตรวจพบฟันคุดในช่องปาก ควรถอนหรือผ่าออก เพราะฟันคุดเป็นฟันซี่สุดท้ายที่ไม่จำเป็นในการเคี้ยวอาหาร อีกทั้งในระยะยาวฟันคุดจะทำก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ฟันกรามซี่ข้างเคียงผุ เศษอาหารติดบ่อย เกิดกลิ่นปาก เกิดถุงน้ำหรือหนอง เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ระยะเวลาที่ดีที่สุดของการผ่าฟันคุด คือไม่เกินอายุ 25 ปี หากเกินกว่านั้นยิ่งนานมากเท่าไร รากฟันคุดจะยาวขึ้นเรื่อยๆ จนใกล้เส้นประสาทใหญ่บริเวณใบหน้า ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขนาดผ่าตอนอายุเยอะได้ เช่น หน้า/ลิ้น/ริมฝีปากชาไปตลอดชีวิต
มาปรึกษาทันตแพทย์ และควรผ่าฟันคุดออก เนื่องจากอาการปวดบวมจะไม่หายไปเอง และมีแต่จะรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากการติดเชื้อ บวม และอักเสบ เมื่อผ่าออกอาการจะบรรเทาลงทันที หลังการผ่าฟันคุดแผลจะหายเองภายใน 7 วันหลังจากนั้นใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ทุกคนที่มีฟันคุด โดยเฉพาะกลุ่มอายุยังไม่เกิน 25 ปี ที่ฟันคุดเพิ่งโผล่เหนือเหงือก เป็นช่วงที่รากฟันคุดยังไม่ฝังลึก การผ่าออกจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าการผ่าออกในผู้ที่มีอายุมาก รวมถึงผลลัพธ์หลังการผ่าจะมีผลข้างเคียงและความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าในผู้ใหญ่ หากมาพบทันตแพทย์ช้าเกินไป การผ่าฟันคุดในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการชาหลังการผ่าได้ เนื่องจากรากฟันคุดกระทบกระเทือนเส้นประสาทในขณะที่ทันตแพทย์กำลังดึงรากฟันออกจากเบ้ากระดูก
ทุกวันพุธ เวลา 10.00 - 20.00 น. (สามารถทำนัดวันอื่นได้ โดยต้องทำนัดล่วงหน้า)
ทุกวันจันทร์ เวลา 10.00 - 20.00 น.